• Published Date: 13/11/2021
  • by: UNDP

ความเข้าใจผิด 5 ประการเกี่ยวกับคนข้ามเพศ

 

“หนูเริ่มกินยาคุมตั้งแต่ม. 1 ถ้าหนูไม่กิน คนก็จะไม่ยอมรับ” เสียงเล็กใสๆเล่าถึงประสบการณ์ของตัวเองในฐานะผู้หญิงข้ามเพศ ‘ปิ่น’ (นามสมมติ) เป็นเยาวชนอายุ 14 ปี กำลังเรียนอยู่ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน เธอระบายถึงความอัดอั้นตันใจกับสิ่งที่สังคมยัดเยียดให้เธอเป็น ทั้งที่เธอไม่ได้อยากจะยอมรับมัน “หนูไม่ได้กินยาคุมมา 4 วัน หนูกลัวจะเป็นผู้ชายมาก หนูจะรู้สึกแย่กับตัวเอง สังคมก็จะมีท่าทีแปลกไป”

คนข้ามเพศจะมีความกังวลอย่างมากว่าสังคมจะไม่เข้าใจ วันนี้ GendersMatter ร่วมกับ UNDP Thailand จะพามาทำความเข้าใจกับความเข้าใจผิด 5 ข้อที่สังคมมีเกี่ยวกับคนข้ามเพศ เพื่อไม่ให้เกิดการผลิตซ้ำความเชื่อที่ว่าอีก

 

(1) “ต้องผ่าตัดแปลงเพศแล้วเท่านั้น ถึงจะถือว่าเป็นคนข้ามเพศ” – นิยามของการข้ามเพศตามหลักสิทธิมนุษยนสากลคือ การกำหนดใจตนเอง (Self determination) ว่าอัตลักษณ์ทางเพศของเขาแตกต่างจากเพศกำเนิด ฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าจะตัดสินใจผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัดแปลงเพศ ก็ไม่ได้ทำให้ความเป็นคนข้ามเพศ (transness) ลดลงแต่อย่างใด นอกจากนี้ ความเข้าใจผิดนี้ ยังเป็นการกีดกันและลดทอนความเป็นคนข้ามเพศ ของคนข้ามเพศที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านการแปลงเพศ ด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจสังคมอีกด้วย

 

(2) “ไม่มีเด็กที่เป็นคนข้ามเพศ” – เมื่อความเป็นคนข้ามเพศไม่ได้ขึ้นอยู่กับการผ่าตัด นั่นก็แปลว่า เด็กที่รู้สึกว่าตัวเองเกิดผิดร่างและประสบกับความทุกข์ที่เกิดจากร่างกายไม่ตรงกับเพศภาวะ (gender dysphoria) ก็ถือว่าเป็นคนข้ามเพศแล้ว มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า ยิ่งเด็กที่เป็นคนข้ามเพศได้รับการบริการด้านการข้ามเพศ (gender affirming care) เร็วขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นผลดีกับสุขภาพจิตของเด็กมากเท่านั้น ฉะนั้น ควรสนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงบริการทางสุขภาพสำหรับเด็กที่เป็นคนข้ามเพศมากขึ้น

 

(3) “คนข้ามเพศแบ่งได้เพียงสองประเภท คือ ชายข้ามเพศและหญิงข้ามเพศ” – เพศภาวะของคนข้ามเพศไม่จำเป็นต้องระบุว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายเพียงเท่านั้น มีคนข้ามเพศหลายคนที่มองว่าตนไม่ได้เป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย แต่เป็น ‘นอนไบนารี’ ที่ไม่อยู่ในขนบระบบสองเพศ (gender binary system) ฉะนั้นแล้ว การบังคับให้คนข้ามเพศต้องอยู่ในกล่องชายหญิง จึงถือเป็นการกีดกันคนข้ามเพศบางกลุ่มออกไป

 

(4) “การข้ามเพศจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนส์ประกอบด้วย” – เช่นเดียวกันกับเรื่องของการผ่าตัด สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างมากคือ ไม่ใช่คนข้ามเพศทุกคนจะสามารถจับจ่ายและเข้าถึงการรับฮอร์โมนส์ได้ นอกจากนี้ อีกหลายคนก็พอใจที่จะไม่รับฮอร์โมนส์ อันที่จริง การข้ามเพศสามารถทำโดยการบอกคนรอบข้างว่าตนเป็นคนข้ามเพศ โดยเรียกว่า “Social Transitioning” ซึ่งเป็นการยืนยันตัวตนของคนข้ามเพศโดยไม่ต้องยึดโยงกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย

 

(5) “ผู้หญิงข้ามเพศต้องแสดงออกถึงความเป็นหญิง ผู้ชายข้ามเพศต้องแสดงออกถึงความเป็นชาย” – เช่นเดียวกันกับคนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศตรงกับเพศกำเนิด  คนข้ามเพศไม่จำเป็นต้องมีความเป็นหญิงหรือความเป็นชายตามที่สังคมคาดหวังและกำหนดแต่อย่างใด เพราะเราทุกคนสามารถแสดงออกได้ตามที่อยากจะแสดงออก การกำหนดให้เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้มีแต่จะทำให้ทุกข์ใจกันไปเปล่า ๆ คงจะดีกว่าถ้าสังคมยอมรับกันที่ตัวตนมากกว่าแค่ความเป็นหญิงหรือชาย

 

“สังคมบังคับให้เราอยู่ในกรอบตามแบบที่พวกเขาเข้าใจ ถ้าหนูไม่ได้อยู่ในกรอบนั้น ก็จะไม่ได้รับการยอมรับ” ปิ่นเล่าให้ฟัง ก่อนจะพูดถึงการตัดสินใจของเธอที่เลือกจะเป็นไปในแบบที่ตนอยากจะเป็น “คนข้ามเพศไม่จำเป็นต้องเทกฮอร์โมนส์นะ สบายใจแบบไหนก็ทำเลย ไม่ต้องไปว่ากัน” ทางเราพยักหน้าเห็นด้วยไปกับปิ่น คนข้ามเพศจะอยู่ได้อย่างมีความสุข หากสังคมยอมรับให้พวกเขาออกจากพันธนาการความเข้าใจผิดได้

 

เพราะท้ายที่สุด

เราก็เป็นคนเหมือนกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779