• Published Date: 05/08/2020
  • by: UNDP

เยาวชน เศรษฐกิจ และโควิด-19: ปัญหาเศรษฐกิจที่ส่งต่อไปสู่มิติอื่นของชีวิตเยาวชน

 

“เด็กและเยาวชนกว่า 8 ใน 10 กังวลเรื่องสถานะทางการเงินของครอบครัวในช่วงโควิด-19 มากที่สุด”

“เยาวชนที่ทำงานประจำและพาร์ตไทม์ร้อยละ 23 ว่างงานเพราะผลกระทบจากโควิด-19”

เหล่านี้คือข้อเท็จจริงที่ได้จากการสำรวจเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 30 ปีทั่วประเทศกว่าหกพันคนเกี่ยวกับผลกระทบของโควิด-19 ที่จัดทำโดยสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย UNICEF UNDP และ UNFPA

ความกังวลและผลกระทบเหล่านี้มาจากการใช้นโยบายล็อกดาวน์และเคอร์ฟิวเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ แต่ผลที่ตามมาอย่างรุนแรงคือผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผู้คนจำนวนไม่น้อยไม่สามารถประกอบกิจการหรือทำงานรับจ้างได้อย่างที่เคยเป็นมา

ความยากลำบากทางการเงินยังถูกซ้ำเติมจากการที่ต้องอยู่บ้านเป็นเวลาที่ยาวนานขึ้น รายจ่ายจึงยิ่งมากขึ้น สวนทางกับรายได้ที่ลดลง ภาระและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่เด็กและเยาวชนทั้งที่ต้องหาเงินดูแลตัวเอง และทั้งที่ยังพึ่งพาการเงินจากผู้ปกครองต่างรับรู้ได้

ปัญหาความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่เยาวชนได้รับมีดังนี้

 

  1. เด็กและเยาวชนที่ผู้ปกครองอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย

ข้อมูลจากสภาพัฒน์ระบุว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี จำนวนคนว่างงานมากขึ้นเป็นร้อยละ 1.03 และมีผู้ว่างงานแฝงจำนวน 448,050 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ตัวเลขอาจสะท้อนผลกระทบจากโควิด-19 ได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร เนื่องจากไตรมาสแรกยังเป็นเพียงช่วงเริ่มต้นการระบาด อย่างไรก็ตามสภาพัฒน์คาดการณ์ว่าจะมีคนเสี่ยงถูกเลิกจ้างถึงกว่า 8.4 ล้านคนจากโรคระบาดนี้

ด้านเด็กและเยาวชนเอง เมื่อโรงเรียนเลื่อนเปิดเทอมออกไปเรื่อยๆ ระยะเวลาอยู่บ้านที่ยาวนานขึ้นส่งผลให้ค่าอาหารกลางวันที่เคยครอบคลุมในที่โรงเรียนก็กลับมาเป็นความรับผิดชอบของทางบ้าน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ชี้ว่าการหยุดโรงเรียนจึงไม่ได้หมายถึงแค่เพียงการขาดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง แต่คือโอกาสในการเข้าถึงอาหารที่ถูกหลักโภชนาการที่ลดลงด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น กสศ. ชี้ว่าเป็นไปได้ว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 จะส่งผลให้นักเรียนจำนวนหนึ่งต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มที่ครอบครัวมีรายได้น้อยอยู่แล้ว เพราะสภาพเศรษฐกิจอันหนักหน่วงอาจทำให้พวกเขาไม่สามารถจ่ายค่าเล่าเรียนได้ อีกทั้งเยาวชนบางส่วนจำต้องไปช่วยผู้ปกครองหารายได้เพื่อประคองให้เศรษฐกิจของครอบครัวดำเนินต่อไปได้ ปัญหาทางเศรษฐกิจช่วงโควิด-19 จึงอาจหมายรวมถึงอนาคตระยะยาวที่เปลี่ยนไปของใครหลายๆ คนด้วย

 

  1. เยาวชนที่ทำงานพาร์ทไทม์หรือหารายได้ด้วยตัวเอง

สำหรับเด็ก เยาวชน และนักเรียนบางคน การทำงานพาร์ตไทม์คือรายได้หลักที่ทำให้พวกเขามีกินมีใช้ในชีวิตประจำวัน หลายคนไม่ได้ขอเงินสนับสนุนจากที่บ้านมาเป็นเวลานาน ครั้นจะไปขอในสถานการณ์เช่นนี้พวกเขายิ่งลำบากใจเพราะรู้ทั้งรู้ว่าใครๆ ต่างก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน

เช่นเดียวกับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครรายหนึ่งที่เข้ามาทำแบบสอบถามของยูนิเซฟ เธอเป็น 1 คนใน 23% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ทำงานและถูกเลิกจ้าง เธอระบุว่าเธอทำงานที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง แต่ตกงานในช่วงโควิด-19 ส่วนที่บ้านก็ไม่มีรายได้ เธอจึงไม่กล้ารบกวนผู้ปกครองเพราะเกรงว่าจะยิ่งเป็นภาระให้กับพวกเขา เธอได้แต่หวังว่ารัฐบาลจะจัดสรรเงินส่วนหนึ่งให้ จำนวนไม่ต้องมาก แต่เพียงพอในการต่อยอดใช้ชีวิต

สอดคล้องกับข้อมูลจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่ระบุว่าคนที่มีอายุ 15-24 ปีทั่วโลก คือกลุ่มที่ถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมากและเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการตกงานมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ทั้งนี้เป็นเพราะเยาวชนจำนวนมากทำงานอยู่ในกิจการที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 อีกทั้งยังมักเป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่มีสวัสดิการจากการเลิกจ้าง ส่วนในประเทศไทยเงินเยียวยา 5,000 บาทสำหรับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แม้จะครอบคลุมแรงงานนอกระบบบางส่วน แต่หนึ่งในเกณฑ์ที่ระบุไว้คือต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป

นอกจากนี้ จากแบบสอบถามของยูนิเซฟ เยาวชนบางรายเสนอเรื่องความต้องการได้รับค่าศึกษาเล่าเรียนหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องคืนส่วนหนึ่ง เพราะโอกาสในการเข้าถึงและใช้ทรัพยากรต่างๆ ของสถาบันลดลง แต่พวกเขาได้ชำระค่าใช้จ่ายเหล่านั้นไปแล้วล่วงหน้า หากได้เงินกลับมาส่วนหนึ่งก็จะช่วยบรรเทาปัญหาด้านความไม่มั่นคงทางการเงินที่หลายๆ คนเผชิญอยู่ได้

 

  1. เยาวชนที่เพิ่งจบการศึกษา

สภาพัฒน์ระบุว่าช่วงกลางปีนี้มีเด็กจบใหม่ที่รอเข้าสู่ตลาดแรงงานถึง 5.2 แสนล้านคน

แม้ธุรกิจหลายแห่งเริ่มกลับมาเปิดดำเนินกิจการเมื่อสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายแล้ว แต่ก็ค่อนข้างชัดเจนว่าสถานการณ์ยังไม่เหมือนเดิม ความต้องการพนักงานใหม่จึงไม่สูงนัก อีกทั้งหลายบริษัทก็เพิ่งปลดพนักงานไปเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้บริษัทดำเนินกิจการต่อไปได้ สถานการณ์นี้ทำให้มีคนวัยทำงานว่างงานหรือกำลังหางานใหม่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เด็กจบใหม่ที่ประสบการณ์ทำงานน้อยหรืออาจไม่มีตกอยู่ในที่นั่งลำบากเป็นอย่างมาก

สำหรับเยาวชนไทยในหลายครอบครัว หากไม่ได้รับผิดชอบตนเองด้านเศรษฐกิจมาก่อนหน้านี้ การจบการศึกษามักเป็นหมุดหมายแห่งวัยที่ระบุว่าถึงเวลารับผิดชอบตนเองด้านเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ นี่อาจนำมาซึ่งความกังวลใจของเยาวชนที่เพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ หากเยาวชนกลุ่มนี้ไม่สามารถหางานได้ภายใน 1-2 ปี อาจยิ่งเข้าสู่การจ้างงานได้ยากยิ่งขึ้น เนื่องจากนายจ้างมีแนวโน้มเลือกรับเด็กที่จบใหม่ในปี 2564 หรือผู้ที่มีทักษะและประสบการณ์การทำงานมากกว่า

 

อ้างอิง:

https://mgronline.com/business/detail/9630000069845
https://www.unicef.org/thailand/th/media/4031/file
https://www.bbc.com/thai/international-52829935
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/876078

กสศ. อนุมัติมาตรการช่วยเด็กเยาวชนแรงงานด้อยโอกาส 7.5 ล้านคน จากผลกระทบโควิด-19

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779